วิสัยทัศน์

มุ่งมั่นเป็นกลไกในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy) โดยอาศัยการพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

 

 

ภารกิจหลัก

ภารกิจหลักของศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มมส คือการต่อยอดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคามให้ได้รับการคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา และผลักดันให้สามารถพัฒนาออกมาเป็นสินค้า หรือบริการ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ ชุมชนหรือสังคมได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ใดที่มีศักยภาพเพียงพอสามารถพัฒนาออกสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทางศูนย์ความร่วมมือฯจะให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ผู้ประกอบการหรือเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ สำหรับวิธีการในการบ่มเพาะธุรกิจนั้นคือการให้บริการ ให้คำปรึกษา แนะนำ ในด้านต่างๆ เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านการตลาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการบริหารจัดการต่างๆ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ หรือการดำเนินงานในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดได้ ในส่วนของ นิสิตปัจจุบันนิสิตเก่า หรือบุคลทั่วไปที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจต้องการเป็นผู้ประกอบการใหม่ สามารถมาใช้บริการต่างๆ ของศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจรายย่อยหรือ SME วิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว ที่มีความต้องการการวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การออกแบบบัญจุภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือการใช้ห้องปฏิบัติการในการทดสอบ ก็สามารถติดต่อผ่านหน่วยงานศูนย์ความร่วมมือฯ ได้ โดยทางศูนย์จะเป็นช่องทางหนึ่งในการเชื่อมโยง มหาวิทยาลัย กับบุคคลภายนอกเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาในด้านต่างๆ ต่อไป

  • แผนกลยุทธ์ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2560
  • แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

พันธกิจ

 

  1. บ่มเพาะให้นิสิต บัณฑิต ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไปที่สนใจเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่รู้จักนำเทคโนโลยีด้านการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการมาใช้ในการประกอบธุรกิจด้วยความยืดหยุ่นและยั่งยืน
  2. สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการเดิมที่มีศักยภาพและความสามารถในการเริ่มดำเนินธุรกิจที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยี โดยเน้นพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีโดยตรงให้ประสบความสำเร็จ
  3. พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น มีนวัตกรรมและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น
  4. สนับสนุนการทำธุรกิจในรูปเครือข่ายวิสาหกิจ (Industrial Cluster) โดยเชื่อมโยงกลุ่มภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานบันการศึกษา วิจัย และหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  5. ผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาภายในมหาวิทยาลัย และการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน
  6. เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการโดยเปิดประตูด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เชื่อมโยงกันทั้ง 2 ฝ่าย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

© Copyright © ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.   ผู้ดูแลระบบ : siriroj.t@msu.ac.th